สรุปเหตุการณ์ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

กลางพุทธศตวรรษที่ 16

กำเนิดราชวงศ์ลาว หรือลวจังกราช ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากกลุ่มคนที่เคยอาศัยบริเวณที่สูงในแถบพื้นที่เชิงดอยตุง ภายหลังเกิดการอพยพลงมาตั้งถิ่นฐานใหม่ในบริเวณที่ราบริมฝั่งแม่น้ำโขงในอำเภอเชียงแสน มีพัฒนาการกลายมาเป็น เมืองเงินยาง 

พ.ศ. 1802 

พญามังราย ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติที่เมืองหิรัญนครเงินยาง เป็นกษัตริย์ ลำดับที่ 25

พ.ศ. 1805

พญามังราย สร้างเมืองเชียงราย โดยกำหนดให้บริเวณดอยจอมทอง เป็นจุดศูนย์กลาง ของเมือง มีการสร้างประตู และกำแพงเมืองขึ้น ล้อมรอบ นอกจากนั้นยังปราฏมุขปาฐะ เรื่องเจี้ยผีนาค ซึ่งสืบทอดมาในท้องถิ่นปรากฏหลักฐานผ่านพิธีการเลี้ยงผีประจำเมืองเชียงราย

รูป

พ.ศ. 1818

พญามังรายได้ให้ราชบุตรองค์ใหญ่ชื่อ ขุนเครื่อง มาครองเมืองเชียงราย ต่อมาราชบุตรองค์ใหญ่สิ้นพระชนม์ พญามังรายจึงได้กลับมาครองราชย์สมบัติอยู่ที่เมืองเชียงรายอีกครั้ง ภายหลังที่พญามังรายทรงยึดเมืองหริภุญชัยได้สำเร็จทรงประทับอยู่ที่เมืองหริภุญชัยเพียง 2 ปี หลังจากนั้นจึงทรงสร้างเวียงกุมกามขึ้นบริเวณริมฝั่งแม่น้ำปิงทางด้านทิศเหนือของหริภุญชัย  ภายหลังเวียงกุมกามเกิดน้ำท่วมบ่อยครั้ง

รูป

พ.ศ.1839

พญามังราย สร้างเมืองเชียงใหม่  เมืองเชียงรายเริ่มลดบทบาทลง ขุนครามราชบุตรเสด็จมาครอง

พ.ศ. 1860

สมัยพญาไชยสงคราม (ขุนคราม) หลักฐานที่ปรากฏให้เห็นถึงความสำคัญของพื้นที่ดอย จอมทองในฐานะจุดศูนย์กลางของเมืองเชียงรายในยุคราชวงศ์มังรายปรากฏหลักฐานจากกลุ่มโบราณสถานที่มีจำนวนมากในเขตพื้นที่โดยรอบดอยจอมทอง ซึ่งปัจจุบันกลุ่มโบราณสถานดังกล่าวได้ตั้งอยู่ในพื้นที่มณฑลทหารบกที่37 ค่ายเม็งรายมหาราช

รูป

พ.ศ. 1870

พญาไชยสงครามถึงแก่ทิวงคต พญาแสนภูทรงสถาปนาเมืองใหม่ชื่อว่า หิรัญนครชัยบุรีศรีเชียงแสน

รูป

ช่วงที่ 2 การย้ายจุดศูนย์กลางเมืองเชียงรายในยุคราชวงศ์มังราย สู่ตัวเมืองเชียงรายในยุครัตนโกสินทร์
(พ.ศ. 2101 - พ.ศ. 2477 / 376 ปี)

พ.ศ. 2101

เมืองเชียงราย ตกอยู่ภายใต้อำนาจของพม่า (พ.ศ.2101 –พ.ศ.2317/ 217 ปี) มีการย้ายศูนย์กลางอำนาจเมืองเชียงรายบริเวณดอยเส้าเส้ามาอยู่พื้นที่ตัวเมืองปัจจุบัน  

รูป

พ.ศ. 2347

ในยุครัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า แห่งราชวงศ์จักรี ทรงโปรดเกล้าฯส่งให้กรมหลวงเทพหริรักษ์และพระยายมราช ยกกองทัพขึ้นมาขับไล่พม่าออกจากเชียงแสนได้สำเร็จ ให้เผาเมืองเสียสิ้น กวาดต้อนเอาผู้คน อพยพไปอยู่เมืองเชียงใหม่ นครลำปาง นครน่าน เมืองเวียงจันทน์ และลงมายังกรุงเทพฯ บางส่วนอพยพมาอยู่ เมืองสระบุรี เมืองราชบุรี ส่งผลให้เมืองเชียงแสน และเมืองเชียงราย เป็นเมืองร้าง ภายหลังจากการขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงราย ส่งผลให้เมืองเชียงรายที่เป็นเมืองร้าง

พ.ศ. 2386

เมืองเชียงราย มีเจ้านายเชื้อสายเจ้าเจ็ดตน เป็นเจ้าหลวงเมืองเชียงรายได้รับพระราชทินนามว่า พระยารัตนะอานาเขต

รูป

พ.ศ. 2400

ในช่วงปลายรัชสมัยเจ้าธรรมลังกา (เจ้าหลวงเชียงรายองค์ที่ 1)มีการก่อพระธาตุบนยอด ดอยจอมทอง พร้อมทั้งทำพิธีพุทธาภิเษกพระประธานวัดดอยจอมทอง

รูป

พ.ศ. 2421

พระธาตุดอยจอมทอง  พังลง เจ้าหลวงอุ่นเรือน (เจ้าหลวงเชียงรายองค์ที่2) ก่อเจดีย์ดอยจอมทองขึ้นใหม่

รูป

พ.ศ. 2448

มีการก่อสร้างอาคารที่พักของจอมพล ป พิบูลสงคราม เพื่อใช้สำหรับรับรองการมีตรวจกิจการทหารในเมืองเชียงราย (ภายหลังพัฒนาเป็นพิพิธภัณฑ์ทหาร มณฑลทหารบกที่ 37 )        

รูป

พ.ศ. 2451

จัดตั้งโรงเรียนประจำจังหวัดเชียงราย ขึ้นบริเวณเชิงดอยวัดงำเมือง ชื่อ โรงเรียนประจำจังหวัดเชียงรายสามัคคีวิทยาคม

พ.ศ. 2460 

เกิดการแพร่ระบาดของอหิวาตกโรค ในเมืองเชียราย มีการจัดพิธีสะเดาะเคราะห์ ครั้งใหญ่ และมีการจัดพิธีไหว้ผีเมืองเชียงราย(ผีนาค)  บริเวณข่วงหลวงเชิงดอยจอมทอง

รูป

พ.ศ. 2461

ก่อตั้งกองทัพบกเชียงราย โดยใช้พื้นที่ดอยจำปี เป็นพื้นที่ในการก่อตั้งของกรมทหารราบที่ 14  เชียงราย โดยขึ้นการบังคับกับ กรมบัญชาการทหารบก มณฑลพายัพฝ่ายตะวันตก

รูป

พ.ศ. 2461

ก่อตั้งโรงเรียนสตรีขึ้นในเมืองเชียงราย ชื่อโรงเรียน “บำรุงกุมารี” โดยอาศัยห้องเรียน ของโรงเรียนชาย โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม”ซึ่งตั้งอยู่บนเนินเขาหน้าวัดงามเมืองภายหลังแยกมาตั้งโรงเรียนเป็นเอกเทศในพื้นที่ที่เคยเป็นคุ้มหลวงเมืองเชียงราย ใช้ชื่อโรงเรียนเพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงพระยาราชเดชดำรงซึ่งเป็นผู้ริเริ่มในการกำเนิดโรงเรียนว่าโรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์

พ.ศ. 2465

จอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า นครสวรรค์ วรพินิต พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ ซึ่งดำรงพระยศ ในขณะนั้นเป็น นายพลโท หม่อมเจ้าอลงกฏ แม่ทัพน้อยที่ 2 เสด็จตรวจเยี่ยมค่ายทหารบนดอยจำปี

รูป

พ.ศ. 2469

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสด็จพระราชดำเนินมายังเมืองเชียงราย

รูป

พ.ศ. 2469

ย้ายสถานที่ตั้งของโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม บริเวณเชิงดอยงำเมือง มาอยู่บริเวณวัดเจ็ดยอด ภายหลังจึงย้ายมาตั้งอยู่ในพื้นที่ตั้งของโรงเรียนในปัจจุบัน

รูป

ช่วงที่ 3 ย่านภูเขาศักดิ์สิทธิ์ ในช่วงสงครามโลกมหาเอเชียบูรพา สู่การเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน (พ.ศ. 2478 - ปัจจุบัน )

พ.ศ. 2478

จัดตั้งเทศบาลเมืองเชียงราย

รูป

พ.ศ. 2479

พระยาราชเดชดำรง(ผล ศรุตตานนท์) ข้าหลวงเมืองเชียงราย ลาออกจากตำแหน่งแและไปดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเทศบาลเชียงราย ปลูกบ้านอยู่บริเวณเนินเตี้ยๆเชิงดอยงำเมืองเป็นบ้านพัก ต่อมาเรียกม่อนเจ้าคุณ

รูป

พ.ศ. 2483

ก่อตั้งโรงไฟฟ้าเทศบาลเมืองเชียงราย  โดยก่อตั้งโรงไฟฟ้าบริเวณดอยจอมทอง(ปัจจุบันเป็นที่ตั้งสถานีวิทยุกรมการรักษาดินแดง) โดยมีสำนักงานตั้งอยู่บริเวณเชิงดอยงำเมือง

รูป

พ.ศ. 2484

พื้นที่ย่านชุมชนดอยสามเส้า เป็นที่ตั้งของศูนย์กลางของทหารในการเดินทัพเพื่อทำ สงครามกับนครเชียงตุง  เป็นพื้นที่ในการเลี้ยงรับรอง จอมพล ป พิบูลสงคราม

รูป

พ.ศ. 2485 

อาคารบ้านพักของจอมพล ป พิบูลสงคราม ภายหลังเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการกองทัพพายัพ

รูป

พ.ศ. 2500

เป็นที่ตั้งของสถานีวิทยุ กระจายเสียงประจำถิ่น 10 เชียงราย  

รูป

พ.ศ. 2502

พื้นที่โรงพักทหารบนดอยจำปี ถูกใช้เป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการจังหวัดเชียงราย

รูป

พ.ศ. 2512

ย้ายศาลกลางมาอยู่บริเวณ ดอยจำปี

รูป

พ.ศ. 2513

อาคารบ้านพักของจอมพล ป พิบูลสงคราม ซึ่งภายหลังเปลี่ยนเป็นสถานีวิทยุ ถูกปรับเป็นที่ตั้งของหน่วยเฉพาะกิจทหารอาสาสมัคร สู้พรรคคอมมิวนิสต์ แห่งประเทศไทย(หน่วยล่าสังหาร)  และ พื้นที่ดอยสามลูกกลายเป็นสถานที่พักในการรักษาพยาบาลจาทหารที่บาดเจ็บ

รูป

พ.ศ. 2527 

ค่ายทหารได้ย้ายหน่วยงานบางส่วนออกจากพื้นที่ดอยทั้งสามลูก  ผู้คนจากต่างถิ่นอพยพเข้ามาจับจองตั้งบ้านเรือนตามพื้นที่ว่างเปล่า

รูป

พ.ศ. 2529

เทศบาลเมืองเชียงรายได้จัดตั้งเป็นชุมชนราชเดชดำรง

รูป

พ.ศ. 2530 

จังหวัดเชียงราย เฉลิมฉลองเมืองเชียงรายครบรอบ 725 ปี จัดสร้างเสาสะดือเมืองขึ้น

รูป

สะดือเมืองเชียงราย

พ.ศ. 2535  

เกิดแนวคิดที่จะพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวเพื่อเป็นศูนย์ป้องกันบรรเทาสาธารณภัย เขต 15 เชียงราย ส่งให้ชาวบ้านเริ่มถากถางพื้นที่บนดอยจอมทอง ดอยงำเมือง และ หลังวัดพระแก้ว

รูป

พ.ศ. 2535  

กรมธนารักษ์ ได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินดอยเสาเส้า และจัดเก็บค่าเช่นเป็นรายปีกับผู้อยู่อาศัย

รูป

พ.ศ. 2549

จัดตั้งชุมชนวัดพระแก้ว ซึ่งแยกมาจากชุมชนราชเดชดำรง

รูป

พ.ศ. 2553

ย้ายศาลากลางจังหวัดเชียงราย บริเวณดอยจำปี ไปอยู่สถานที่แห่งใหม่ บริเวณบ้านน้ำลัด ถนนแม่ฟ้าหลวง และ เกิดโครงการขยายห้องเรียนมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย โดยใช้พื้นที่ อาคารเพื่อจัดตั้งเป็นอาคารที่ทำการของวิทยาลัยสงฆ์เชียงราย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย จนถึงปัจจุบัน

รูป