วัดพระแก้ว ตั้งอยู่ถนนไตรรัตน์ ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ใกล้กับศาลากลางจังหวัด (หลังที่2)  เป็นวัดเก่าแก่สร้างในสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐาน เดิมชื่อวัด “ยรุกขวนาราม” หรือ “วัดป่าเยี๊ยะ” ตามชื่อของไม้ไผ่ชนิดหนึ่งมีลักษณะคล้ายไผ่สีสุก เรียกในท้องถิ่นว่า “ไม้เยี๊ยะ”

         จนกระทั่งในรัชสมัยพญาแสนเมืองมา เกิดปัญหาการเมืองภายในราชวงศ์มีการแย่งชิงอำนาจระหว่างเจ้านายเชื้อพระวงศ์ซึ่งครองเมืองเชียงราย โดยท้าวมหาพรหมก่อกบฎ ซึ่งไม่สำเร็จจนกระทั่งในสมัยพญาสามฝั่งแกน (พ.ศ.1954-1984) มีการก่อกบฎขึ้นอีกครั้งโดยท้าวยี่กุมกามพระเชษฐา ซึ่งผลของการแย่งชิงอำนาจเจ้านายเชียงรายแพ้และหนีไปพึ่งเจ้าเมืองสุโขทัย ส่งผลให้พญาสามฝั่งแกน ส่งโอรสไปครองเมืองเชียงราย (สรัสวดี อ๋องสกุล, 2561 : 156 -158) คือท้าวเจ็ดเหตุการณ์สำคัญในยุคนี้ในปี พ.ศ.1979 เมืองเชียงรายเกิดอสุนีบาตฟาดใส่พระเจดีย์ที่วัดป่าญะ จนพังทลายลงมาพบพระพุทธรูปปูนปั้นชาวบ้านจึงอัญเชิญไปไว้ในพระวิหาร ภายหลังปูนที่หุ้มองค์พระส่งผลให้ปูนที่พอกกะเทาะออกเป็นเนื้อสีเขียวชาวบ้านจีงได้อัญเชิญไปประดิษฐานภายวิหาร เรื่องรางทราบไปถึงพญาสามฝั่งแกน พระองค์จึงมีรับสั่งให้อัญเชิญพระแก้วบนหลังช้าง เพื่อนำไปประดิษฐานที่เมืองเชียงใหม่ ในระหว่างที่ช้างทรงเดินทางไปถึงระหว่างทางแยกระหว่างเชียงใหม่และลำปาง ช้างทรงพระแก้วมรกตได้เดินเตลิดไปทางเมืองลำปาง พญาสามฝั่งแกนจึงทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตไปประดิษฐานที่วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดารามในเมืองลำปาง (อภิชิต ศิริชัย, 2559 : 159 – 162) ภายหลังใน ปี พ.ศ.2022 สมัยพระเจ้าติโลกราชโปรดให้ หมื่นด้ำพร้าคตปฎิสังขรเจดีย์หลวงกลางเมืองเชียงใหม่โดยขยายขนาดของเจดีย์ให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นในคราวนั้นทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานภายในซุ้มจรนำทางด้านทิศตะวันออกด้วย

เจดีย์ที่เคยประดิษฐานพระแก้วมรกตก่อน และหลังการบูรณะ

      ต่อมาในปี พ.ศ.2432 ในสมัยเจ้าหลวงสุริยะ เจ้าหลวงเชียงรายองค์ที่ 3 มีการลงเสาก่อสร้างพระวิหารวัดพระแก้ว ภายหลังที่เชียงรายตกอยู่ในช่วงการเป็นเมืองร้างในยุคฟื้นม่านถึง 49 ปี ภายในพระวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย เดิมเคยประดิษฐานอยู่ที่วัดพระเจ้าล้านทอง ในเขตกำแพงเมืองเชียงราย(ปัจจุบันวัดล้านทองเป็นวัดร้างและถูกรื้อไปแล้วพื้นที่ของวัดในปัจจุบันคือ พื้นที่ของวัดในปัจจุบันคือพื้นที่ส่วนหนึ่งของสำนักไปรษณีย์ และโรงเรียนอนุบาลเชียงราย ภายหลังได้มีการอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ วัดดอยงำเมือง (งามเมือง) จนกระทั่งในปีพ.ศ.2504 พระพุทธิวงศ์วิวัฒน์ เจ้าคณะจังหวัดเชียงรายในสมัยนั้น ได้อัญเชิญพระเจ้าล้านทองลงมาประดิษฐานเป็นพระประธานของวัด

วัดพระแก้วเชียงราย

พระเจ้าล้านทอง

         วัดพระแก้ว เป็นวัดที่สำคัญคู่กับเมืองเชียงราย เป็นที่ใช้รับเสด็จเจ้านายหลายครั้ง เช่นในปี พ.ศ.2469 เคยรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ในคราวเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพเพื่อทอดพระเนตรบ้านเมือง และเสด็จเยี่ยมพสกนิกรในมณฑลพายัพ ในระหว่างวันที่ 14-18 มกราคม พ.ศ.2469 ทรงเสด็จพรราชดำเนินมายังเมืองเชียงราย เพื่อทอดพระเนตรความก้าวหน้าในงานทางราชการ พร้อมทั้งยังทรงเสด็จยังสถานที่ที่มีความสำคัญต่างๆในเมืองเชียงรายเสด็จมายังวัดพระแก้วด้วย

         ในปี พ.ศ 2528   กรมศิลปากร ขึ้นทะเบียนโบราณศิลปวัตถุ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 102 ตอนที่ 2  วันที่ 4 มกราคม 2528
จำนวน  7 รายการ ได้แก่
1.พระอัครสาวก
ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 21-22 ชนิดสำริด ขนาดหน้าตักกว้าง 50 เซนติเมตร สูงทั้งฐาน 90 เซนติเมตร
2. พระอัครสาวก
ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 21-22 ชนิดสำริด ขนาดหน้าตักกว้าง 56 เซนติเมตร สูงทั้งฐาน 90 เซนติเมตร
3.พระพุทธรูปปางมารวิชัย
ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 21 ชนิดสำริดปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง 84  เซนติเมตร สูงทั้งฐาน 19 เซนติเมตร
4.พระพุทธรูปปางมารวิชัย
ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 21 ชนิดสำริดปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง 81  เซนติเมตร สูงทั้งฐาน 19 เซนติเมตร
5.พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 21 ชนิดสำริดปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง 195  เซนติเมตร สูงทั้งฐาน 251 เซนติเมตร                     
6. พระพุทธรูปปางมารวิชัย
ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 21 ชนิดสำริดปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง 102  เซนติเมตร สูงทั้งฐาน 160 เซนติเมตร
7.พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร
ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 21 ชนิดสำริดปิดทอง ขนาดสูงทั้งฐาน 205 เซนติเมตร

         ต่อมาในปี พ.ศ.2533 ในมหามงคลสมัย สมเด็จพระศรีนครินทรบรมราชชนนี(รัชกาลที่9)ทรงเจริญพระชนมายุ90 พรรษา จังหวัดเชียงรายได้สร้างพระพุทธรูปหยก ขนาดหน้าตักกว้าง 47.9 เซนติเมตร สูง 65.9 เซนติเมตร สมัยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้พระราชทานนามของพระพุทธรูปหยกว่า “พระพุทธรตนากร นวุตติวัสสานุสรณ์มงคล” แปลว่า พระพุทธเจ้าผู้เป็นอากรแห่งรัตนะ เป็นอนุสรณ์ 90 พรรษา และทรงโปรดเกล้าพระราชทานนามสามัญว่า “พระหยกเชียงราย”

พระหยกเชียงราย